ทอท.หัวหมอเนรมิตเส้นแนวเสียงใหม่ +ลดขนาดพื้นที่รับผลกระทบลง/อ้างมติครม.29พ.ค.50หวังลดจ่ายชดเชย/ชาวบ้านโวยหลุดโผกว่าครึ่ง
ชาวบ้านเยื่อพิษเสียงสุวรรณภูมิ 60 ชุมชนสุดช้ำ หลุดโผค่าชดเชยกว่า 50% เหลือไม่ถึง 30 ชุมชนหลังทอท.หัวหมอฉีกทิ้งแนวเส้นเสียงเก่าทิ้ง –ขีดเส้นเสียงใหม่ บีบพื้นที่ให้แคบลง ด้านละ 12 กิโลเมตร อ้างเหตุยึดมติครม.ขิงแก่ล่าสุด 29พ.ค.50ที่ระบุค่าชดเชย 1.2 แสนล้านสูงเกินจริงต้องสำรวจใหม่ ด้านชาวบ้านโวย 3,000-4,000 หลังได้ค่าชดเชยแค่ 1,000 หลัง เตรียมยื่นหนังสือ คมนาคม –บิ๊กแอ้ด ยึดมติครม.เก่า 21 พ.ย.49 ลั่นปิดสนามบินประท้วงอีกรอบแน่ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวบ้าน และ บริษัทการท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เกี่ยวกับการจ่ายชดเชยให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเสียงจากการขึ้น-ลง เครื่องบิน โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ กระทั้ง มีการเดินขบวนประท้วงจน รัฐบาลชุดพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ ต้องสั่งให้ ทอท. ช่วยเหลือชาวบ้านที่อยู่โซนเสียงดังรุนแรงก่อน ขณะเดียวกัน ได้มีมติครม. ทบทวน ขนาดพื้นที่และ วงเงินชดเชยที่สูงถึง 120,000ล้านบาทใหม่ นั้น
ล่าสุด แหล่งข่าวจากบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ ทอท.ได้ประกาศแนวเส้นเสียงจากการขึ้น-ลง เครื่องบินรอบสนามบินสุวรรณภูมิใหม่ โดยยึดมติคณะรัฐมตรี (ครม.) ชุดพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ วันที่ 29 พฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการชดเชยสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเสียงจริงนับจาก วันที่เปิดใช้สนามบินเมื่อวันที่ 28กันยายน 2549 จนถึงปัจจุบัน ที่ใช้เพียง 2 ทางวิ่ง และ มีสัดส่วน 80 ต่อ 20 %
ทั้งนี้ แนวเส้นเสียงใหม่นี้จะ แตกต่างจากแนวเส้นเสียงเก่า ตามมติครม.เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 เนื่องจาก กรมควบคุมมลพิษ ได้คำนวณพื้นที่ตามเที่ยวบินเต็มพื้นที่ 100 % ในอนาคตจำนวน 4 ทางวิ่ง(รันเวย์) ทำให้พื้นที่ที่อยู่ในข่ายได้รับผลกระทบและได้ค่าชดเชยเพิ่มมากขึ้น ทั้งที่ปัจจุบันยังไม่มีปัญหาทางเสียงเกิดขึ้นทำให้มีปริมาณบ้านและวงเงินที่สูงถึง 120,000 ล้านบาท และมี อาคารบ้านเรื่อนที่ต้องชดเชยทั้งรับซื้อคืนและปรับปรุงซ่อมแซม เกือบ30,000 หลังคาเรือน
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ทอท. ได้ลงพื้นที่ สำรวจ พื้นที่และบ้านเรือนประชาชน ว่ามีกี่หลังคาเรือน อยู่ในโซนระดับเสียงเท่าไหร่ ระหว่าง NEF 30-NEF เกิน กว่า 40 โดยตั้งเครื่องวัดระดับเสียง ใหม่ แล้วจึงทำแผนผังแนวเส้นเสียงขึ้นใหม่ให้ตรงกับข้อเท็จจริงในปัจจุบันมากที่สุด ตามมติครม. ใหม่ดังกล่าว
ทั้งนี้เกรงว่าจะมี ผู้ที่ ไม่เดือดร้อนจริงสวมรอยรับค่าชดเชยดังกล่าวและไม่เป็นธรรมสำหรับรัฐบาล สำหรับค่าชดเชยนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างว่าจ้างบริษัทประเมิน เพื่อประเมิน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นล็อตที่2 ที่ได้รับผลกระทบทางเสียง โดย ทอท.จะแยกออกเป็นสองส่วนได้แก่ โซนที่ต้องซื้อคืน จะอยู่ในบริเวณNEF เกินกว่า 40 และ ที่จะต้องปรับปรุงซ่อมแซมจะต้องเป็นระดับความดังของเสียง ลดหลั่นลงไป ถึงNEF 30 ซึ่งขณะนี้ ได้แจ้งให้กับชาวบ้านทราบแล้ว อาทิ ฝั่งถนนบางนา-ตราด ได้แก่ บริเวณหมู่บ้านกรีนเลค หมู่บ้านกฤษณา บริเวณหมู่ 1 และหมู่ที่ 10 ตำบลราชาเทวะ คอนโดมิเนียม นูเวล คอนโดมิเนียมเพลสทีจ หมู่บ้านธนาซิตี้ คอนโดมิเนียมธนาเพลส ฝั่งมอร์เตอร์เวย์ หมู่บ้จุลมาศวิลล่า ชุมชนหลังหมู่บ้านเคหะนคร 2 หมู่บ้านเคหะนคร 2 ชุมชนชอยกำนัลแต๋ว หมู่บ้านลาดกระบังการ์เด้นท์ท ชุมชนมิตรปลูกศรัทธา หมู่บ้านมณสินี ชุมชนประชาร่วมใจ ชุมชนร่วมใจพัมนา หมู่บ้านศิลาภิรัตน์ เป็นต้น
ขณะที่ แหล่งข่าวจากกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ยอมรับ ว่าทอท. ได้ ส่งเรื่องให้คพ. กำหนดแนวเสียงใหม่ ตามขนาดเที่ยวบิน 2 ทางวิ่ง สัดส่วน 80:20 % ตามสภาพการใช้งานจริงในปัจจุบัน ตามมติครม. วันที่ 29 พฤษภาคม 2550 ดังนั้น ทำให้ พื้นที่แนวเส้นเสียงใหม่ มีขนาดสัดส่วนเล็กและแคบลงไปมาก เมื่อเที่ยบกับ แนวเส้นเสียง เดิม ที่คพ. ได้ กำหนดไปแล้วตามมติครม. 21 พฤศจิกายน 2549 ที่มีขนาด 100 กว่าตารางกิโลเมตร โดยความกว้าง 4 กิโลเมตร และความยาว วัดจากตัวสนามบิน ไปทางทิศใต้ เลยถนนเทพารักษ์ออกไป 10 กิโลเมตร และ ทางเหนือสนามบิน วัดขึ้นไปอีก 10 กิโลเมตร ไปบรรจบถนนสุวิทวงศ์
จากการกำหนดแนวเส้นเสียงใหม่ โดยอ้างตามมติ ครม. ใหม่ดังกล่าว ส่งผลให้ บ้านเรือนประชาชนที่ได้รับผลกระทบและอยู่ในแนวเส้นเสียงเดิม ไม่อยู่ในข่ายที่ได้รับค่าชดเชย จำนวนมาก และขณะนี้มีการร้องเรียนให้ทอท.รับผิดชอบและให้ยึดตามแนวเส้นเสียง เดิมและมติครม. วันที่ 21พฤศจิกายน 2549 เนื่องจากมองว่าไม่เป็นธรรม
ด้านนาย สุรเดช เบญจาทิกุล ประธานกรรมการหมู่บ้านร่มฤดี กล่าวว่า ชาวบ้านจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบทางเสียง โดยเฉพาะที่เป็นหมู่บ้านจัดสรร รวมคันค้านและจะยื่นหนังสือ ต่อ พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคมและ ทอท. ให้ยืนตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 แทน มติครม. ใหม่ 29 พฤษภาคม 2550 เนื่องจาก มองว่า ทอท.กำลังฉวยโอกาส เลี่ยงจ่ายค่าชดเชยให้กับชาวบ้านและ ถือโอกาสลงสำรวจใหม่ ให้มีจำนวนบ้านที่ได้รับผลกระทบน้อยลง ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานที่ได้ มองว่าไม่เป็นธรรม และไม่มั่นใจว่า จะ เป็นไปตามข้อเท็จจริงหรือไม่
สำหรับ แผนที่แนวเส้นเสียงใหม่ พบว่า มีขนาด สั่นและแคบลง จากแนวเดิม คือ ส่วนหัว-ท้าย จะลดลง 2-3 กิโลเมตร และ ส่วนความกว้าง จะแคบลง ข้างละ 1กิโลเมตร ทำให้มีชาวบ้านหลุดโผไปจาก เดิม กว่า 50 % จากเดิมมีผุ้ได้รับผลกระทบ เกือบ30,000 หลังคาเรือน 60 หว่าชุมชน ขณะนี้เหลือไม่เกิน30ชุมชน มีผู้ที่ได้รับ ผลกระทบ ทางเสียงระดับ NEF เกินกว่า 40 จำนวน 800 หลังคาเรือน ขณะนี้เหลือเพียง 382 หลังคาเรือน เฉพาะ หมู่บ้านจัดสรร เดิมที่ได้รับผลกระทบ NEF30- เกิน 40 จำนวน 3,000-4,000 หลังคาเรือน จาก เกือบ 30,000 หลังคาเรือน ขณะนี้เหลือแค่ 1,000 หลังคาเรือนเท่านั้น โดยเฉพาะด้านเหนือ สนามบินจะมีหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นมาก ซึ่ง มี 20 กว่า หมู่บ้าน ปรากฏว่าแนวใหม่ออกมาเหลือเพียง 12 หมู่บ้านเท่านั้น อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ เดิม แนวเส้นเสียเก่า บริเวณด้านใต้สนามบิน จะผ่านถนนเทพารักษ์ไป ส่วนแนวใหม่ จะไม่ถึง ถนนเทพทรักษ์ และ แนวด้านเหนือสนามบิน ไม่ถึง ถนนสุวินทวงศ์จากแนวเดิม อยุ่ที่ถนนสุวินทวงศ์ ที่จะได้ค่าชดเชย ซึ่งมองว่าการกระทำลักษณะนี้เพื่อต้องการลดค่าชดเชยอย่างแน่นอน
นายสุรเดชกล่าวต่อว่า หาก ทอท.ไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขของมติครม.วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 ชาวบ้านจะรวมตัวกันประท้วงปิดสนามบินอีกครั้ง คาดว่าไม่เกินสิ้นเดือนนี้
No comments:
Post a Comment